เมนู

อรรถกถาทุติยรูปารามสูตรที่ 4 เป็นต้น


สูตรที่ 4 เมื่อทรงแสดงล้วน ๆ ก็ตรัสด้วยอัธยาศัยของบุคคลผู้จะ
ตรัสรู้. สูตรที่ 5 เป็นต้น ก็ตรัสด้วยอัธยาศัยของบุคคลผู้จะตรัสรู้โดย
ประการนั้น ๆ. ส่วนเนื้อความแห่งสูตรเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้วแล.
จบ เทวทหวรรคที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. เทวทหสูตร 2. ขณสูตร 3. ปฐมรูปารามสูตร 4. ทุติย-
รูปารามสูตร 5. ปฐมนตุมหากสูตร 6. ทุติยนะตุมหากสูตร 7. ปฐม-
เหตุอัชฌัตตสูตร 8. ทุติยเหตุอัชฌัตตสูตร 9. ปฐมเหตุพาหิรสูตร
10. ทุติยเหตุพาหิรสูตร.

นวปุราณวรรคที่ 5



1. กรรมสูตร


ว่าด้วยกรรมเก่าและกรรมใหม่


[227] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า
ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลาย
จงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน.
จักษุอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว
สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่
ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า.
[228] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน. กรรมที่
บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่.
[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน.
นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม.
[230] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ 1 สัมมาสังกัปปะ 1
สัมมาวาจา 1 สัมมากัมมันตะ 1 สัมมาอาชีวะ 1 สัมมาวายามะ 1 สัมมาสติ 1
สัมมาสมาธิ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงความ
ดับแห่งกรรม.